วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เซลล์ขยันพันธุ์เดือด ประกาศทำละครเวที ครั้งที่ 2

หนังสือการ์ตูนเรื่อง เซลล์ขยันพันธุ์เดือด (Hataraku Saibou) ผลงานของ อ.Akane Shimizu ประกาศนำไปจัดแสดงเป็นละครเวที ครั้งที่ 2
ใช้ชื่อว่า "Tainai Katsugeki Hataraku Saibou II" จัดที่ Theatre 1010 กรุงโตเกียว ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย. 2019 จนถึงวันที่ 6 ต.ค. 2019
โดยยังคงได้ Keita Kawajiri กลับมารับหน้าที่เขียนบทเช่นเดียวกับครั้งแรก แต่ครั้งนี้รับหน้าที่กำกับด้วย และเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ
ละครเวทีเรื่องนี้ได้เผยภาพโปรโมทละครเวที พร้อมทั้่งรายชื่อนักแสดงทั้งที่มารับบทเดิมและผู้ที่เข้าร่วมแสดงให้ละครเวทีชุดนี้เป็นครั้งแรก



รายชื่อนักแสดง

Ryo Kitamura รับบทเป็น เม็ดเลือดขาว White Blood Cell (Neutrophil) [ครั้งแรกแสดงโดย Masanari Wada]



Umino Kawamura รับบทเป็น เม็ดเลือดแดง Red Blood Cell (Erythrocite) [ครั้งแรกแสดงโดย Kanon Nanaki]



Yuuki Kimizawa รับบทเป็น เซลส์ทีคิลเลอร์ Killer T Cell



Taishi Sugie รับบทเป็น เซลล์ปกติ Regular Cell [ครั้งแรกแสดงโดย Takeshi James Yamada]



Takeshi James Yamada รับบทเป็น เซลส์มะเร็ง Cancer Cell [ครั้งแรกรับบทเป็น เซลล์ปกติ Regular Cell]



Yojiro Itokawa รับบทเป็น เซลล์บี B Cell [ครั้งแรกแสดงโดย Kaoru Masaki]



Kento Kitamura รับบทเป็น หน่วยความจำทางร่างกาย Memory Cell



Chihiro Kai รับบทเป็น เซลล์ยับยั้งเซลล์ที Regulatory T Cell



Bishin Kawasumi รับบทเป็น เซลล์เดนไดรท์ Dendritic Cell (Memory Cell)



Kanon Miyahara รับบทเป็น เซลส์เพชฌฆาต Natural Killer Cell [ครั้งแรกแสดงโดย Kaoru Marimura]



Yuki Masuda รับบทเป็น สเตรปโตคอกคัส ไพโอจีนัส Streptococcus pyogenes



Shun Takagi รับบทเป็น ไวรัสอินฟลูเอนซ่า Influenza virus



Kuniko Kodama รับบทเป็น สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส Staphylococcus aureus [ครั้งแรกแสดงโดย Shou Tomita]



Takurou Sawada รับบทเป็น นิวโมคอคคัส Pneumococcus [ครั้งแรกแสดงโดย Ryouma Baba]



อ.Akane Shimizu เขียนการ์ตูนเรื่อง เซลล์ขยันพันธุ์เดือด มาเริ่มลงพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูน Shonen Sirius ฉบับเดือน มี.ค. 2015
(26 ม.ค. 2015) ปัจจุบันมีฉบับรวมเล่มออกวางแผงในญี่ปุ่น 5 เล่ม ยังไม่จบ มียอดพิมพ์ฉบับรวมเล่มทุกภาคในญี่ปุ่น 3,300,000 เล่ม
(เคยได้ทำคลิปโฆษณาในรูปแบบอนิเม ฉลองยอดพิมพ์ฉบับรวมเล่มในญี่ปุ่น 1 ล้านเล่ม เมื่อเดือน ก.ค. 2017) ผลงานเรื่องนี้ยังได้
รับเลือกให้อยู่ในอันดับที่ 7 การ์ตูนผู้ชายน่าอ่าน ประจำปี 2015 จากนิตยสาร Kono Manga ga Sugoi! 2016 สตูดิโอ David Production
นำการ์ตูนเรื่องนี้ไปดัดแปลงเป็นทีวีอนิเม ความยาว 13 ตอนจบ ออกอากาศที่ญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. 2018 จนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2018
แล้วทำเป็นทีวีอนิเมตอนพิเศษเพิ่มอีกหนึ่งตอน กลุ่มอาการไข้หวัด (Kaze Shoukougun) ออกอากาศที่ญี่ปุ่นในวันที่ 27 ธ.ค. 2018



ทีวีอนิเม เซลล์ขยันพันธุ์เดือด
- ตอนที่ 1 จากตอนที่ 1 นิวโมคอคคัส (Pneumococcus, Haienkyuukin) ในฉบับรวมเล่ม 1
- ตอนที่ 2 จากตอนที่ 4 แผลถลอก (Surikizu) ในฉบับรวมเล่ม 1
- ตอนที่ 3 จากตอนที่ 3 ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ในฉบับรวมเล่ม 1
- ตอนที่ 4 จากตอนที่ 5 อาหารเป็นพิษ (Shokuchuudoku) ในฉบับรวมเล่ม 2
- ตอนที่ 5 จากตอนที่ 2 แพ้เกสรต้นซีดาร์ญี่ปุ่น (Cedar Pollen Allergy, Sugikafun Allergy) ในฉบับรวมเล่ม 1
- ตอนที่ 6 จากตอนที่ 7 นอร์โมบลาสต์กับมัยอีไลไซต์ (Erythroblasts and Myelocytes) ในฉบับรวมเล่ม 2
- ตอนที่ 7 จากตอนที่ 8-9 เซลล์มะเร็ง (Cancer Cells) ในฉบับรวมเล่ม 2
- ตอนที่ 8 จากตอนที่ 10 ระบบหมุนเวียนโลหิต (Ketsueki Junkan) ในฉบับรวมเล่ม 3
- ตอนที่ 9 จากตอนที่ 12 เซลล์ต่อมไทมัส (Thymocytes, Kyousen Saibou) ในฉบับรวมเล่ม 3
- ตอนที่ 10 จากตอนที่ 15 เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus, Oshoku Budou Kyuukin) ในฉบับรวมเล่ม 4
- ตอนที่ 11 จากตอนที่ 6 ไฮเปอร์เทอร์เมีย (Heat Stroke, Netchuushou) ในฉบับรวมเล่ม 2
- ตอนที่ 12 จากตอนที่ 17 ภาวะช็อกจากการเสียเลือดมาก ครึ่งแรก (Hemorrhagic Shock 1, Shukketsusei Shokku Zenpen) ในฉบับรวมเล่ม 4
- ตอนที่ 13 จากตอนที่ 18 ภาวะช็อกจากการเสียเลือดมาก ครึ่งหลัง (Hemorrhagic Shock 2, Shukketsusei Shokku Kouhen) ในฉบับรวมเล่ม 4
- ตอนพิเศษ จากตอนที่ 11 กลุ่มอาการไข้หวัด (Kaze Shoukougun) ในฉบับรวมเล่ม 3

ทีวีอนิเม เซลล์ขยันพันธุ์เดือด ซีซั่นแรก สามารถไปคว้ารางวัล Best Storytelling Award ในกลุ่ม Animation Unit Award จาก Magnolia Awards
ครั้งที่ 25 จากงานอีเวนท์ Shanghai TV Festival ครั้งที่ 25 ตั้งแต่วันที่ 10-14 มิ.ย. 2019 สำหรับซีซั่นสองได้ดูกันแน่นอน เพราะว่ามีการประกาศ
ชัดเจนไปแล้วในงานอีเวนท์ AnimeJapan 2019 เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มี.ค. 2019 และทีมงานอนิเมเรื่องนี้จะแจ้งกำหนดออกอากาศให้ทราบภายหลัง



การ์ตูนเรื่อง เซลล์ขยันพันธุ์เดือด มีการนำไปเขียนการ์ตูนภาคแยกถึง 5 ภาค คือ Hataraku Saikin เกี่ยวกับแบคทีเรียในร่างกายของมนุษย์
รับหน้าที่วาดภาพโดย อ.Haruyuki Yoshida เริ่มลงพิมพ์เป็นตอนแรกในนิตยสารการ์ตูน Nakayoshi ฉบับเดือน พ.ค. 2017 (3 เม.ย. 2017)
มีฉบับรวมเล่มออกวางแผงในญี่ปุ่นแล้ว 4 เล่ม ยังไม่จบ, Hatarakanai Saibou เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของ Erythroblasts ซึ่งไม่ยอมทำงาน
รับหน้าที่วาดภาพโดย อ.Moe Sugimoto เริ่มลงพิมพ์ตอนแรกในนิตยสารการ์ตูน Shonen Sirius ฉบับเดือน ก.ย. 2017 (26 ก.ค. 2017)
มีฉบับรวมเล่มออกวางแผงในญี่ปุ่นแล้ว 2 เล่ม ยังไม่จบ, Hataraku Saibou Black เกี่ยวกับเหล่าเซลล์ภายในร่างกายของมนุษย์ที่สุขภาพย่ำแย่
ลงพิมพ์ตอนแรกในนิตยสารการ์ตูน Morning ฉบับที่ 27/2018 (7 มิ.ย. 2018) มีฉบับรวมเล่มออกวางแผงในญี่ปุ่นแล้ว 4 เล่ม ยังไม่จบ,
Hataraku Saibou Friend รับหน้าที่วาดภาพโดย อ.Mio Izumi และแต่งเนื้อเรื่องโดย อ.Kanna Kurono เล่าเรื่องเกี่ยวกับ เซลส์ทีคิลเลอร์
(Killer T Cell) อยากมีเพื่อนที่ร่วมสนุกสนานนอกเวลางานกะเขาบ้าง แต่ก็ไม่อยากเสียมาดที่น่าเกรงกลัวของตนเอง เริ่มลงพิมพ์สองตอนรวด
ในนิตยสารการ์ตูน Bessatsu Friend ฉบับเดือน ก.พ. 2019 (12 ม.ค. 2019) มีฉบับรวมเล่มออกวางแผงในญี่ปุ่นแล้ว 1 เล่ม ยังไม่จบ และ
Hataraku Kesshoban-chan เกี่ยวกับเกล็ดเลือด รับหน้าที่วาดภาพโดย อ.Yasu และ Yuuko Kakihara ผู้ที่ดูแลเนื้อเรื่องในฉบับทีวีอนิเม
มารับหน้าที่แต่งเนื้อเรื่องภาคแยกเกล็ดเลือด เริ่มลงพิมพ์ตอนแรกนิตยสารการ์ตูน Shonen Sirius ฉบับเดือน ก.ค. 2019 (25 พ.ค. 2019)

เซลล์ขยันพันธุ์เดือด กล่าวถึงการจำลองร่างกายของคนเราเหมือนเมืองเมืองหนึ่ง นางเอกสาวคือเม็ดเลือดแดง
เธอประกอบขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปยังอวัยวะต่างๆ ซึ่งดูเหมือนอีกเมืองหนึ่ง ทันทีที่มีเชื้อโรคบุกเข้าหลอดเลือดมา
ลองนึกภาพมีสัตว์ประหลาดบุกเมือง หน่วยโจมตีต่างๆ ก็จะเริ่มทำงาน หนุ่มเม็ดเลือดขาวจะดิ่งไปจัดการด้วยมือเปล่าก่อน
ถ้าไม่สำเร็จ หน่วยบัญชาการเซลล์ทีผู้ช่วยจะส่งทีมมือปราบเซลล์ทีคิลเลอร์มาสมทบ เซลล์บีช่วยผลิตอุปกรณ์กำจัดเชื้อ
ซึ่งในเรื่องดูเป็นปืนอานุภาพสูง ส่วนสาวแมสต์เซลล์ก็จะปล่อยฮิสตามีนพาให้น้ำท่วมเมือง ผู้เขียนถ่ายทอดหน้าที่เซลล์
ออกมาเป็นบุคลิกภาพของคนได้อย่างน่าทึ่ง นอกจากอ่านสนุกมากแล้ว ตอนจบจำได้เลยว่าเซลล์ไหนทำงานอย่างไร
ความทรงจำที่เห็นเม็ดเลือดเป็นเม็ดเลือดสมัยเรียนถูกแทนที่ด้วยหนุ่มสาวหน้าตาน่ารักมากมายทำให้วิชาโลหิตวิทยามีเสน่ห์ขึ้นเยอะ



ไม่เพียงเท่านั้น การ์ตูนเรื่อง เซลล์ขยันพันธุ์เดือด ยังได้นำไปจัดแสดงในรูปแบบละครเวที จัดที่ Theatre 1010 กรุงโตเกียว
วันที่ 16-25 พ.ย. 2018 ซึ่งได้ Tsuyoshi Kida มารับหน้าที่กำกับ, Keita Kawajiri (ละครเวที Nanbaka) มารับหน้าที่เขียนบท



ที่มา Natalie

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น